ดาวฤกษ์
ดาวฤกษ์ เป็นมวลก๊าซที่ลุกโชติช่วง
( incandescent gas )
และกระจายอยู่ทั่วทั้งเอกภพในระยะที่ห่างกันพอได้สมดุลพอดี
เราอาจจุเห็นดาวฤกษ์หลายดวงอยู่กันเป็นกลุ่มในท้องฟ้ายามราตรีในรูปของจุด
แสงเล็กๆ บางดวงก็มีแสงสุกใสสว่างกว่าดวงอื่น ๆ
แต่นั้นก็เป็นเพียงรูปโฉมภายนอกเท่านั้น
ทั้งนี้เพราะความสว่างที่เห็นนั้นขึ้นอยู่กับระยะทางที่ดาวฤกษ์ดวงนั้นๆ
อยู่ห่างจากโลก อายุขัยของดาวฤกษ์แต่ละดวงไม่เท่ากัน ทว่ามันก่อเกิดขึ้น
เติบโต และดับไปในที่สุดเหมือนๆกัน ดาวฤกษ์บางดวง เช่น ดวงอาทิตย์
มีดาวบริวารที่
เรียกว่า ดาวฤกษ์
วิวัฒนาการของดาวฤกษ์
- ดาว
ฤกษ์ทั้งหลายเกิดจากการยุบรวมตัวของ เนบิวลา
หรือกล่าวได้อีกอย่างว่าเนบิวลาเป็นแหล่งกำเนิดของดาวฤกษ์ทุกประเภท
แต่จุดจบของดาวฤกษ์จะต่างกัน ขึ้นอยู่กับมวลสาร
- วิวัฒนาการของดาวฤกษ์ที่มีมวลสารต่างๆกัน
วาระสุดท้ายของดาวฤกษ์มวลสารมากกว่าดวงอาทิตย์มากๆจะเป็นหลุมดำมวลสาร
มากกว่าดวงอาทิตย์มาก จะกลายเป็นดาวนิวตรอน
และวาระสุดท้ายดาวฤกษ์มวลสารน้อย เช่น ดวงอาทิตย์ จะกลายเป็นดาวแคระ
- ดาวฤกษ์ที่มีมวลน้อย เช่น
ดวงอาทิตย์มีแสงสว่างไม่มากจะใช้เชื้อเพลิงในอัตราที่น้อย จึงมีชีวิตยาว
และจบลงด้วยการไม่ระเบิด แต่จะกลายเป็นดาวแคระขาว สำหรับดาวฤกษ์
ที่มีมวลพอๆกับดวงอาทิตย์
จะมีช่วงชีวิตและการเปลี่ยนแปลงแบบเดียวกับดวงอาทิตย์
- ดาวฤกษ์ที่มีขนาดใหญ่ มีมวลมาก
สว่างมากจะใช้เชื้อเพลิงอย่างสิ้นเปลืองในอัตราสูงมากจึงมีช่วงชีวิตสั้น
กว่า และจบชีวิตด้วยการระเบิดอย่างรุนแรง
- จุดจบของดาวฤกษ์ที่มวลมาก คือการระเบิดอย่างรุนแรง ที่เรียกว่า ซูเปอร์โนวา (supernova) แรง
โน้มถ่วง จะทำให้ดาวยุบตัวลงกลายเป็นดาวนิวตรอนหรือหลุมดำ
ในขณะเดียวกันก็มีแรงสะท้อนที่ทำให้ส่วนภายนอกของดาวระเบิดเกิดธาตุหนัก
ต่างๆ เช่น ยูเรเนียม ทองคำ ฯลฯ ซึ่งถูกสาด
กระจายออกสู่อวกาศกลายเป็นส่วนประกอบของเนบิวลารุ่นใหม่
และเป็นต้นกำเนิดของดาวฤกษ์รุ่นต่อไป
เช่นระบบสุริยะก็เกิดจากเนบิวลารุ่นหลัง
ดวงอาทิตย์และบริวารจึงมีธาตุต่างๆทุกชนิด เป็นองค์ประกอบ ดังนั้น เนบิวลา
ดาวฤกษ์ การระเบิดของดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ โลกของเรา สารต่างๆและชีวิตบนโลก
จึงมีความสัมพันธ์กันอย่างลึกซึ้ง
ดวงอาทิตย์
ดวงอาทิตย์ (The Sun) คือดาวฤกษ์ที่อยู่ตรงศูนย์กลางของระบบสุริยะ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.4 ล้านกิโลเมตร หรือ 109 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางโลก อยู่ห่างจากโลก 149,600,000 กิโลเมตร หรือ 1 หน่วยดาราศาสตร์ (AU) ดวงอาทิตย์มีมวลมากกว่าโลก 333,000 เท่า แต่มีความหนาแน่นเพียง 0.25 เท่าของโลก เนื่องจากมีองค์ประกอบเป็นไฮโดรเจน 74% ฮีเลียม 25% และธาตุชนิดอื่น 1%
โครงสร้างภายในของดวงอาทิตย์
- แก่นปฏิกรณ์นิวเคลียร์ (Fusion core) อยู่ ที่ใจกลางของดวงงอาทิตย์ถึงระยะ 25% ของรัศมี แรงโน้มถ่วงของดวงอาทิตย์ทำให้มวลสารของดาวกดทับกันจนอุณหภูมิที่ใจกลางสูง ถึง 15 ล้านเคลวิน จุดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันหลอมอะตอมของไฮโดรเจนให้กลายเป็นฮีเลียม และปลดปล่อยพลังงานออกมา
- โซนการแผ่รังสี (Radiative zone) อยู่ที่ระยะ 25 - 70% ของรัศมี พลังงานที่เกิดขึ้นจากแก่นปฏิกรณ์นิวเคลียร์ถูกนำขึ้นสู่ชั้นบนโดยการแผ่รังสีด้วยอนุภาคโฟตอน
- โซนการพาความร้อน (Convection zone) อยู่ ที่ระยะ 70 - 100% ของรัศมี พลังงานที่เกิดขึ้นไม่สามารถแผ่สู่อวกาศได้โดยตรง เนื่องจากมวลของดวงอาทิตย์เต็มไปด้วยแก๊สไฮโดรเจนซึ่งเคลื่อนที่หมุนวนด้วย กระบวนการพาความร้อน พลังงานจากภายในจึงถูกพาออกสู่พื้นผิวด้วยการหมุนวนของแก๊สร้อนดังภาพที่ 2
ความสว่างเเละอันดับความสว่างของดาวฤกษ์
-
ความสว่างของดาวฤกษ์เป็นพลังงานแสงทั้งหมดที่แผ่ออกมาใน 1 วินาที
ส่วนอันดับความสว่างเป็นตัวเลขที่กำหนดขึ้น
โดยกำหนดให้ดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดเมื่อมองด้วยตาเปล่า
มีอันดับความสว่างเป็น 1 ส่วนดาวฤกษ์ที่มองเห็นแสงสว่างริบหรี่
มีอันดับความสว่างเป็น 6 ดาวที่มีอันดับความสว่างต่างกัน 1
ความสว่างจะต่างกันประมาณ 2.5 เท่า
- ความสว่าง (brightness) ของดาว คือ พลังงานแสงจากดาวที่ตกบน 1 หน่วยพื้นที่ ในเวลา 1 วินาที
-
อันดับความสว่าง (brightness) ของดาวฤกษ์
เป็นตัวเลขที่กำหนดขึ้นเพื่อแสดงการรับรู้ความสว่างของผู้สังเกตดาวฤกษ์ด้วย
ตาเปล่า ดาวที่มองเห็นสว่างที่สุดมีอันดับความสว่างเป็น 1
และดาวที่เห็นสว่างน้อยที่สุดมีอันตับความสว่างเป็น 6
นั่นคือดาวยิ่งมีความสว่างน้อย อันดับความสว่างยิ่งสูงขึ้น
หรืออยู่อันดับท้าย ๆ ส่วนดาวสว่างมากอยู่อันดับต้น ๆ
ความสว่างของดาวบนฟ้า
อันดับควาสว่างของดวงดาวบนท้องฟ้า
เนบิวลาดาวเคราะห์
อันดับความสว่าง | ตัวอย่าง |
-26.7 | ดวงอาทิตย์ |
-4.5 | ดาวศุกร์เมื่อสว่างที่สุด |
-3.5 | ดาวศุกร์เมื่อริบหรี่ที่สุด |
-2.7 | ดาวอังคารเมื่อสว่างที่สุด |
-2.5 | ดาวพฤหัสบดีเมื่อสว่างที่สุด |
-1.5 | ดาวพุธเมื่อสว่างที่สุด |
-1.5 | ดาวซีรีอัล |
-1.4 | ดาวพฤหัสบดีเมื่อริบหรี่ที่สุด |
-0.5 | ดาวเสาร์เมื่อสว่างที่สุด |
-1 | ดาวฤกษ์ประมาณ 20 ดวง |
0 | ดาวฤกษ์ประมาณ 20 ดวง |
1 | ดาวฤกษ์ประมาณ 20 ดวง |
1.2 | ดาวเสาร์เมื่อรบหรี่ที่สุด |
1.6 | ดาวอังคารเมื่อริบหรี่ที่สุด |
2.6 | ดาวพุธเมื่อริบหรี่ที่สุด |
3
| ดาวฤกษ์ริบหรี่ที่สุดที่อาจมองเห็นได้ในเมืองใหญ่ |
6 | ดาวฤกษ์ริบหรี่ที่สุดที่อาจมองเห็นได้ในชนบท |
สีเเละอุณหภูมิของดาวฤกษ์
สีของดาวฤกษ์นอกจากจะบอกอุณหภูมิของดาวฤกษ์แล้ว
ยังสามารถบอกอายุของดาวฤกษ์ด้วย
ดาวฤกษ์ที่มีอายุน้อยจะมีอุณหภูมิที่ผิวสูงและมีสีน้ำเงิน
ส่วนดาวฤกษ์ที่มีอายุมากใกล้ถึงจุดสุดท้ายของชีวิตจะมีสีแดงที่ เรียกว่า
ดาวยักษ์แดง มีอุณหภูมิผิวต่ำ ดาวฤกษ์แต่ละดวงจะมีสิ่งที่เหมือนกัน คือ
องค์ประกอบหลัก ได้แก่ ธาตุไฮโดรเจน และธาตุฮีเลียม
พลังงานของดาวฤกษ์ทุกดวงเกิดจากปฏิกิริยาเทอร์มอนิวเคลียร์ที่แก่นกลาง
ของดาว แต่สิ่งที่ต่างกันของดาวฤกษ์ ได้แก่ มวล อุณหภูมิผิว ขนาด อายุ
ระยะห่างจากโลก สี ความสว่าง ธาตุที่เป็นองค์ประกอบ
และวิวัฒนาการที่ต่างกัน
ระยะทางในดาราศาสตร์
1.หน่วย
ดาราศาสตร์ มีค่าเท่ากับระยะทางจากดวงอาทิตย์ถึงโลก หรือ 150 ล้าน กิโ,เมตร
เป็นหน่วยที่ใช้มากในการบอกระยะห่างภายในระบบสุริยะ
- 1 ปีเเสง คือ ระยะทางที่เเสงเดินทางใช้เวลา 1ปี คิดเป็นระยะทาง
9.4607×1012 กิโลเมตร = 63,241.07
- 1 ปาร์เสด ระยะทางจากโลกถึงดาวที่มีมุมพาราลเเลก์เท่ากับ 1ฟิลิปดา คิดเป็นระยะทาง 206265 A.U.หรือ 3.27 ปีเเสง
ระยะห่างของดาวฤกษ์
เนบิวลา (NEBULA)หรือกลุ่มหมอกเพลิง
คือ
กลุ่มก๊าซและฝุ่นที่ไม่มีแสงสว่างในตัวเองรวมกันอยู่หนาแน่นมากเป็นปริมาณ
มหาศาล อยู่ระหว่างดาวฤกษ์ในระบบกาแล็กซี่
ลักษณะของเนบิวลาจะปรากฏเป็นฝ้ามัวๆ
บริเวณนี้จะเป็นแหล่งกำเนิดของดาวฤกษ์ต่างๆ
และเนบิวลาบางส่วนอาจเกิดจากการระเบิดของดาวฤกษ์กลายเป็นซากก๊าซและฝุ่น
เนบิวลามี 2 ลักษณะ คือ เนบิวลาสว่าง และ เนบิวลามืด
เนบิวลาสว่าง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ เนบิวลาประเภทสะท้อนแสง เช่น เนบิวลาสว่างใหญ่ในกระจุกดาวลูกไก่ จะสะท้อนแสงสีน้ำเงิน และ เนบิวลาประเภทเรืองแสง
โดยวัตถุที่สะท้อนแสงคือ ฝุ่นอวกาศ เช่น เนบิวลา M-42 ในกลุ่มดาวนายพราน
เนบิวลาวงแหวน M-52 ในกลุ่มดาวพิณ เนบิวลาปูในกลุ่มดาววัว
สำหรับเนบิวลาสว่างใหญ่ที่มีทั้งสะท้อนแสงและเรืองแสง เช่น เนบิวลาสามแฉก
M-20 ในกลุ่มดาวคนยิงธนู
- เนบิวลาสว่างใหญ่คือ เนบิวลาประเภทเรืองแสงที่เกิดจากการเรืองแสงของอะตอมของไฮโดรเจนออกซิเจน ไนโตรเจน และ ฮีเลียม
- เนบิวลาสว่างประเภทเรืองแสงที่ใหม่ที่สุด คือ เนบิวลารูปวงกลม
- เนบิวลามืด เป็น
ก๊าซและฝุ่นท้องฟ้าที่บังและดูดกลืนแสงดาวฤกษ์ที่อยู่เบื้องหลัง
จึงทำให้มองเห็นเป็นบริเวณดำ เช่นเนบิวลามืดรูปหัวม้าในกลุ่มดาวนายพราน และ
เนบิวลารูปถุงถ่านหิน ในกลุ่มดาวกางเขนใต้
เนบิวลานอกจากจะเป็นแหล่งกำเนิดของดาวฤกษ์แล้ว
ยังพบว่าในช่วงสุดท้ายแห่งการวิวัฒนาการของดาวฤกษ์
เปลือกนอกซึ่งเป็นฝุ่นและก๊าซจะถูกดันแตกกระจาย
กลับกลายเป็นเนบิวลาอีกครั้งหนึ่ง เช่น เนบิวลาวงแหวนในกลุ่มดาวพิณ
เนบิวลาดาวเคราะห์มิได้มีสิ่งใดเกี่ยวข้องกับดาวเคราะห์ แต่เนื่องจากขนาดปรากฏและรูปทรงของมันดูคล้ายดาว
เคราะห์จึงเรียกว่าเนบิวลาดาวเคราะห์มาแต่เก่าก่อน
เนบิวลาดาวเคราะห์เกิดจากการตายของดาวฤกษ์เพียงดวงเดียว
ซึ่งเป็นดาวฤกษ์มวลน้อยและมวลปานกลาง
ก่อนตายดาวจะเกิดการยุบพองและเป่าคาร์บอนออกมา การยุบพองของดาว
ทำให้เนื้อสารหลุดแยกออกจากดาวกลายเป็นเนบิวลาดาวเคราะห์
แกนกลางของดาวกลายเป็นดาวแคระขาว
ธาตุหลักของเนบิวลาดาวเคราะห์ได้แก่ไฮโดรเจน ฮีเลียม และออกซิเจน
ดาวแคระขาวจัดได้ว่าเป็นแหล่งพลังงานเดียว ของเนบิวลา ดาวเคราะห์ที่ยังคงหลงเหลือพลังงานอยู่ เนื้อสารของดาวที่หลุดออกเป็นเพียงก๊าซและฝุ่นก๊าซซึ่งไม่มีพลังงานหลงเหลืออยู่เลย แต่สาเหตุที่เรามองเห็นเนบิวลาดาวเคราะห์ได้เนื่องจากได้รับแสงจากดาวแคระขาวที่อยู่ภายในดาวแคระขาวเป็นดาวที่ไม่มีปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชัน ขนาดของดาวคงรูปอยู่ได้ด้วยสมดุลของแรงโน้มถ่วงจากน้ำหนักเนื้อสารของดาวและความดันดีเจนเนอเรซีของอิเล็กตรอน ดาวแคระขาวจึงมาขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 10,000 กิโลเมตร ขนาดใกล้เคียงกับโลก ในฐานข้อมูลเมสสิเยร์มีเนบิวลาดาวเคราะห์จำนวน 4 เนบิวลา ได้แก่ M27 เนบิวลาดัมเบลล์, M57 เนบิวลาวงแหวน, M76 เนบิวลาดัมเบลล์เล็ก และ M97 เนบิวลานกฮูก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น